๙ พฤษภาคม ๒๕๓๗
กรมสามัญศึกษาได้อนุมัติให้โรงเรียนสุราษฎร์ธานี เปิดสาขาขึ้นที่หมู่ที่ 5 ต.มะขามเตี้ย อ.เมืองฯ จ. สุราษฎร์ธานี โดยใช้ชื่อในขณะนั้นว่า “โรงเรียนสุราษฎร์ธานีสาขาท่าเพชร ”
ซึ่งเนื้อที่ดังกล่าวเป็นพื้นที่ที่โรงเรียนสุราษฎร์ธานี ได้ซื้อไว้เพื่อใช้ในการเรียนวิชาเกษตรกรรม
การรับนักเรียนครั้งแรกรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวนสองห้องเรียน 101 คน โดยมี นายอภินันท์ พาหะมาก ผู้บริหารโรงเรียนสุราษฎร์ธานี ขณะนั้น ปฏิบัติหน้าที่
ผู้บริหารสาขาและมอบหมายให้ นายสุวิทย์ เทโหปะการ อาจารย์ 2 ระดับ 7 โรงเรียนสุราษฏร์ธานี มาเป็นผู้ดูแล
การจัดการเรียนการสอน ในช่วงแรกใช้ครูโรงเรียนสุราษฎร์ธานี มาสอน การวัดผล การประเมินผลและการจัดกิจกรรมต่าง ๆ รวมกับนักเรียนของโรงเรียนสุราษฎร์ธานี
นายสุวิทย์ เทโหปะการ
ปีการศึกษา ๒๕๓๘
เริ่มรับนักเรียน ม.1 รุ่นใหม่ จำนวน 155 คน มีครูย้ายมาจากโรงเรียนต่างๆจำนวน 10 คน
๓๐ เมษายน ๒๕๓๙
กรมสามัญศึกษาได้มีประกาศจัดตั้งโรงเรียนสุราษฎร์ธานีสาขาท่าเพชร เป็น “โรงเรียนสุราษฎร์ธานี ๒ ” สังกัดกรมสามัญศึกษา ลำดับที่ 44 ของจังหวัดสุราษฎร์ธานี และมี นายสาธร ลิกขะไชย ผู้อำนวยการโรงเรียนสุราษฎร์ธานี ในขณะนั้นปฏิบัติหน้าที่ผู้ บริหาร และได้มอบหมายให้ นายสุวิทย์ เทโหปการ ดูแลเช่นเดิม
ปีการศึกษา ๒๕๓๙
รับนักเรียนเข้า ม.1 ทั้งสิ้น 199 คน กรมสามัญได้จัดสรรงบประมาณสิ่งก่อสร้างอาคารเรียนแบบเบ็ดเสร็จ แบบ ก ข ค งบประมาณ 9,834,000 บาท
มีสนามบาสเกตบอล ห้องน้ำ บ้านพักครู และบ้านพักภารโรง อย่างละ 1 หลัง
๑๖ ตุลาคม ๒๕๓๙
กรมสามัญศึกษาได้แต่งตั้ง นายวิรัช เศวตศิลป์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการโรงเรียนสุราษฎร์ธานี ไปปฏิบัติหน้าที่ ครูใหญ่โรงเรียนสุราษฎร์ธานี ๒
๒๓ มีนาคม ๒๕๔๐
นายวิรัช เศวตศิลป์ ครูใหญ่โรงเรียนสุราษฏร์ธานี ๒ ได้นำคณะครู-อาจารย์ เข้าเฝ้าสมเด็จพระญาณสังวรสมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
เพื่อให้สมเด็จพระสังฆราชเบิกพระเนตรพระพุทธรูปประจำโรงเรียน และสมเด็จพระสังฆราช ทรงประทานนามพระพุทธรูปประจำโรงเรียนว่า “ พระพุทธบารมีสุราษฏร์ธานีพิพัฒน์ ”
โรงเรียนสุราษฏร์ธานี ๒ ได้มีหนังสือกราบทูลสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปรินายก เพื่อขอประทานนามอาคาร ก. ซึ่งเป็นอาคารหลังแรกของโรงเรียน
ว่า “ อาคารสมเด็จพระสังฆราชญาณสังวร 84 ” และประทานอนุญาตให้ใช้ตรา ญสส. ซึ่งเป็นตราประจำพระองค์ ให้ใช้เป็นสัญลักษณ์ประจำโรงเรียน
และใช้ติดหน้าอกเสื้อ เครื่องแบบของนักเรียน
๗ พฤศจิกายน ๒๕๓๙
นักเรียนที่จบ ม.3 (รุ่นกาญจนาอภิเษก) รุ่นแรกของโรงเรียน ได้ร่วมกันหารายได้สร้างศาลากาญจนาภิเษก มอบให้แก่โรงเรียน เพื่อเป็นอนุสรณ์ งบประมาณ 140,000 บาท
๓๑ ธันวาคม ๒๕๔๐
กรมสามัญศึกษาได้แต่งตั้ง นายวิรัช เศวตศิลป์ ครูใหญ่โรงเรียนสุราษฎร์ธานี ๒ ปฏิบัติหน้าที่อาจารย์ใหญ่โรงเรียนสุราษฎร์ธานี ๒
๖ พฤศจิกายน ๒๕๔๑
ชมรมสังสรรค์สามัคคีสุราษฏร์ธานี(3 ส.)ได้มอบเสาธง ค่าก่อสร้าง 116,073 บาท ให้แก่โรงเรียนสุราษฎร์ธานี ๒
ธันวาคม ๒๕๔๐ - ธันวาคม ๒๕๔๑
นักเรียนที่จบ ม.3 รุ่น 2 (สสร.) และ รุ่น 3 (เอเชียนเกมส์) ได้ก่อสร้างป้ายชื่อโรงเรียน ค่าก่อสร้าง 305,330 บาท ให้แก่โรงเรียนสุราษฎร์ธานี ๒
๓๐ ธันวาคม ๒๕๔๒
กรมสามัญศึกษาได้แต่งตั้ง นายวิรัช เศวตศิลป์ อาจารย์ใหญ่โรงเรียนสุราษฎร์ธานี ๒ ปฏิบัติหน้าที่ผู้อำนวยการโรงเรียนสุราษฎร์ธานี ๒
ธันวาคม ๒๕๔๒
นักเรียนที่จบ ม.3 รุ่น 4 (เทิดพระเกียรติ 72 พรรษา) ได้สมทบเงินก่อสร้าง ห้องโสตเทิดพระเกียรติ 72 พรรษา ค่าก่อสร้าง 183, 000 บาท
๑ ตุลาคม ๒๕๔๓
กรมสามัญศึกษาได้จัดสรรงบประมาณสิ่งก่อสร้างอาคารเรียนแบบ 324 (ล) /41 (หลังคาทรงไทย) จำนวน 1 หลัง งบประมาณ 19,837,000 บาท
ธันวาคม ๒๕๔๓
นักเรียนที่จบ ม.3 รุ่น 5 (100 ปี สมเด็จย่า) ได้สมทบเงินก่อสร้างห้องพยาบาล 100 ปี สมเด็จย่า มูลค่า 185,000 บาท
๑๖ ธันวาคม ๒๕๔๕
นายวิรัช เศวตศิลป์ ผู้อำนวยการได้รับการเลื่อนขั้นปรับตำแหน่งในระดับที่สูงขึ้นเป็น ผู้อำนวยการระดับ 9
พ.ศ. ๒๕๔๖
กรมสามัญศึกษาได้จัดสรรงบประมาณสิ่งก่อสร้างหอประชุม/โรงอาหาร(อาคารสมเด็จฯ 91) งบประมาณ 7,194,000
พ.ศ. ๒๕๔๖
กระทรวงศึกษาธิการ ประกาศให้โรงเรียนสุราษฎร์ธานี ๒ เป็นโรงเรียนรางวัลพระราชทาน ขนาดใหญ่ ระดับประเทศ
พ.ศ. ๒๕๔๗
กรมสามัญศึกษาได้จัดสรรงบประมาณสิ่งก่อสร้าง อาคารเรียนแบบ 108 ล/30 งบประมาณ 4,360,583 บาท
๒๕ สิงหาคม ๒๕๔๗
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน แต่งตั้งนายบัญญัติ สุขขัง ปฏิบัติหน้าที่ผู้อำนวยการโรงเรียนสุราษฎร์ธานี ๒ จนถึง ปี พ.ศ ๒๕๕๗
พ.ศ. ๒๕๕๗
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน แต่งตั้งนายทวีศักดิ์ ยศฐา ปฏิบัติหน้าที่ผู้อำนวยการโรงเรียนสุราษฎร์ธานี ๒ จนถึง ปี พ.ศ ๒๕๕๗
พ.ศ. ๒๕๕๘
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน แต่งตั้งนายสมยศ กระจ่างแจ้ง ปฏิบัติหน้าที่ผู้อำนวยการโรงเรียนสุราษฎร์ธานี ๒ จนถึงปัจจุบัน