ข้อมูลสถิติการให้บริการ
เกียรติประวัติอิเล็กทรอนิกส์ นำโดย ผอ.ประยงค์ อินนุพัฒน์ คณะครู บุคลากร และผู้เกี่ยวข้อง โรงเรียนสุราษฎร์ธานี ๒ ร่วมเก็บรวบรวมเกียรติประวัติผลงาน...
รายละเอียดเกียรติประวัติจำแนกตามปี
|
นายวิรัช เศวตศิลป์
ตำแหน่ง ครูใหญ่/อาจารย์ใหญ่/ผู้อำนวยการ พ.ศ.๒๕๓๙ ถึง พ.ศ.๒๕๔๗ |
นายบัญญัติ สุขขัง ตำแหน่ง ผู้อำนวยการ พ.ศ.๒๕๔๗ ถึง พ.ศ.๒๕๕๗ |
|
นายทวีศักดิ์ ยศฐา ตำแหน่ง ผู้อำวยการ พ.ศ.๒๕๕๗ |
|
นายสมยศ กระจ่างแจ้ง ตำแหน่ง ผู้อำนวยการ พ.ศ.๒๕๕๘ ถึง ๒๕๖๑ |
|
|
นายประยงค์ อินนุพัฒน์ ตำแหน่ง ผู้อำนวยการ พ.ศ.๒๕๖๑ ถึงปัจจุบัน |
๙ พฤษภาคม ๒๕๓๗
กรมสามัญศึกษาได้อนุมัติให้โรงเรียนสุราษฎร์ธานี เปิดสาขาขึ้นที่หมู่ที่ 5 ต.มะขามเตี้ย อ.เมืองฯ จ. สุราษฎร์ธานี โดยใช้ชื่อในขณะนั้นว่า “โรงเรียนสุราษฎร์ธานีสาขาท่าเพชร ”
ซึ่งเนื้อที่ดังกล่าวเป็นพื้นที่ที่โรงเรียนสุราษฎร์ธานี ได้ซื้อไว้เพื่อใช้ในการเรียนวิชาเกษตรกรรม
การรับนักเรียนครั้งแรกรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวนสองห้องเรียน 101 คน โดยมี นายอภินันท์ พาหะมาก ผู้บริหารโรงเรียนสุราษฎร์ธานี ขณะนั้น ปฏิบัติหน้าที่
ผู้บริหารสาขาและมอบหมายให้ นายสุวิทย์ เทโหปะการ อาจารย์ 2 ระดับ 7 โรงเรียนสุราษฏร์ธานี มาเป็นผู้ดูแล
การจัดการเรียนการสอน ในช่วงแรกใช้ครูโรงเรียนสุราษฎร์ธานี มาสอน การวัดผล การประเมินผลและการจัดกิจกรรมต่าง ๆ รวมกับนักเรียนของโรงเรียนสุราษฎร์ธานี
นายสุวิทย์ เทโหปะการ
ปีการศึกษา ๒๕๓๘
เริ่มรับนักเรียน ม.1 รุ่นใหม่ จำนวน 155 คน มีครูย้ายมาจากโรงเรียนต่างๆจำนวน 10 คน
๓๐ เมษายน ๒๕๓๙
กรมสามัญศึกษาได้มีประกาศจัดตั้งโรงเรียนสุราษฎร์ธานีสาขาท่าเพชร เป็น “โรงเรียนสุราษฎร์ธานี ๒ ” สังกัดกรมสามัญศึกษา ลำดับที่ 44 ของจังหวัดสุราษฎร์ธานี และมี นายสาธร ลิกขะไชย ผู้อำนวยการโรงเรียนสุราษฎร์ธานี ในขณะนั้นปฏิบัติหน้าที่ผู้ บริหาร และได้มอบหมายให้ นายสุวิทย์ เทโหปการ ดูแลเช่นเดิม
ปีการศึกษา ๒๕๓๙
รับนักเรียนเข้า ม.1 ทั้งสิ้น 199 คน กรมสามัญได้จัดสรรงบประมาณสิ่งก่อสร้างอาคารเรียนแบบเบ็ดเสร็จ แบบ ก ข ค งบประมาณ 9,834,000 บาท
มีสนามบาสเกตบอล ห้องน้ำ บ้านพักครู และบ้านพักภารโรง อย่างละ 1 หลัง
๑๖ ตุลาคม ๒๕๓๙
กรมสามัญศึกษาได้แต่งตั้ง นายวิรัช เศวตศิลป์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการโรงเรียนสุราษฎร์ธานี ไปปฏิบัติหน้าที่ ครูใหญ่โรงเรียนสุราษฎร์ธานี ๒
๒๓ มีนาคม ๒๕๔๐
นายวิรัช เศวตศิลป์ ครูใหญ่โรงเรียนสุราษฏร์ธานี ๒ ได้นำคณะครู-อาจารย์ เข้าเฝ้าสมเด็จพระญาณสังวรสมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
เพื่อให้สมเด็จพระสังฆราชเบิกพระเนตรพระพุทธรูปประจำโรงเรียน และสมเด็จพระสังฆราช ทรงประทานนามพระพุทธรูปประจำโรงเรียนว่า “ พระพุทธบารมีสุราษฏร์ธานีพิพัฒน์ ”
โรงเรียนสุราษฏร์ธานี ๒ ได้มีหนังสือกราบทูลสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปรินายก เพื่อขอประทานนามอาคาร ก. ซึ่งเป็นอาคารหลังแรกของโรงเรียน
ว่า “ อาคารสมเด็จพระสังฆราชญาณสังวร 84 ” และประทานอนุญาตให้ใช้ตรา ญสส. ซึ่งเป็นตราประจำพระองค์ ให้ใช้เป็นสัญลักษณ์ประจำโรงเรียน
และใช้ติดหน้าอกเสื้อ เครื่องแบบของนักเรียน
๗ พฤศจิกายน ๒๕๓๙
นักเรียนที่จบ ม.3 (รุ่นกาญจนาอภิเษก) รุ่นแรกของโรงเรียน ได้ร่วมกันหารายได้สร้างศาลากาญจนาภิเษก มอบให้แก่โรงเรียน เพื่อเป็นอนุสรณ์ งบประมาณ 140,000 บาท
๓๑ ธันวาคม ๒๕๔๐
กรมสามัญศึกษาได้แต่งตั้ง นายวิรัช เศวตศิลป์ ครูใหญ่โรงเรียนสุราษฎร์ธานี ๒ ปฏิบัติหน้าที่อาจารย์ใหญ่โรงเรียนสุราษฎร์ธานี ๒
๖ พฤศจิกายน ๒๕๔๑
ชมรมสังสรรค์สามัคคีสุราษฏร์ธานี(3 ส.)ได้มอบเสาธง ค่าก่อสร้าง 116,073 บาท ให้แก่โรงเรียนสุราษฎร์ธานี ๒
ธันวาคม ๒๕๔๐ - ธันวาคม ๒๕๔๑
นักเรียนที่จบ ม.3 รุ่น 2 (สสร.) และ รุ่น 3 (เอเชียนเกมส์) ได้ก่อสร้างป้ายชื่อโรงเรียน ค่าก่อสร้าง 305,330 บาท ให้แก่โรงเรียนสุราษฎร์ธานี ๒
๓๐ ธันวาคม ๒๕๔๒
กรมสามัญศึกษาได้แต่งตั้ง นายวิรัช เศวตศิลป์ อาจารย์ใหญ่โรงเรียนสุราษฎร์ธานี ๒ ปฏิบัติหน้าที่ผู้อำนวยการโรงเรียนสุราษฎร์ธานี ๒
ธันวาคม ๒๕๔๒
นักเรียนที่จบ ม.3 รุ่น 4 (เทิดพระเกียรติ 72 พรรษา) ได้สมทบเงินก่อสร้าง ห้องโสตเทิดพระเกียรติ 72 พรรษา ค่าก่อสร้าง 183, 000 บาท
๑ ตุลาคม ๒๕๔๓
กรมสามัญศึกษาได้จัดสรรงบประมาณสิ่งก่อสร้างอาคารเรียนแบบ 324 (ล) /41 (หลังคาทรงไทย) จำนวน 1 หลัง งบประมาณ 19,837,000 บาท
ธันวาคม ๒๕๔๓
นักเรียนที่จบ ม.3 รุ่น 5 (100 ปี สมเด็จย่า) ได้สมทบเงินก่อสร้างห้องพยาบาล 100 ปี สมเด็จย่า มูลค่า 185,000 บาท
๑๖ ธันวาคม ๒๕๔๕
นายวิรัช เศวตศิลป์ ผู้อำนวยการได้รับการเลื่อนขั้นปรับตำแหน่งในระดับที่สูงขึ้นเป็น ผู้อำนวยการระดับ 9
พ.ศ. ๒๕๔๖
กรมสามัญศึกษาได้จัดสรรงบประมาณสิ่งก่อสร้างหอประชุม/โรงอาหาร(อาคารสมเด็จฯ 91) งบประมาณ 7,194,000
พ.ศ. ๒๕๔๖
กระทรวงศึกษาธิการ ประกาศให้โรงเรียนสุราษฎร์ธานี ๒ เป็นโรงเรียนรางวัลพระราชทาน ขนาดใหญ่ ระดับประเทศ
พ.ศ. ๒๕๔๗
กรมสามัญศึกษาได้จัดสรรงบประมาณสิ่งก่อสร้าง อาคารเรียนแบบ 108 ล/30 งบประมาณ 4,360,583 บาท
๒๕ สิงหาคม ๒๕๔๗
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน แต่งตั้งนายบัญญัติ สุขขัง ปฏิบัติหน้าที่ผู้อำนวยการโรงเรียนสุราษฎร์ธานี ๒ จนถึง ปี พ.ศ ๒๕๕๗
พ.ศ. ๒๕๕๗
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน แต่งตั้งนายทวีศักดิ์ ยศฐา ปฏิบัติหน้าที่ผู้อำนวยการโรงเรียนสุราษฎร์ธานี ๒ จนถึง ปี พ.ศ ๒๕๕๗
พ.ศ. ๒๕๕๘
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน แต่งตั้งนายสมยศ กระจ่างแจ้ง ปฏิบัติหน้าที่ผู้อำนวยการโรงเรียนสุราษฎร์ธานี ๒ จนถึงปัจจุบัน
ตราประจำโรงเรียน มณฑปพระธาตุไชยาลอยอยู่เหนือเมฆบนช้างสามเศียร มีดวงประทีป เอราวัณทร เครื่องประกอบกันภายในวงกลมล้อมด้วยตัวอักษรคติพจน์และชื่อโรงเรียน มณฑปพระธาตุไชยา หมายถึง จริยศึกษา ช้างสามเศียร หมายถึง พลศึกษา ดวงประทีป หมายถึง พุทธศึกษา เอราวัณทรงเครื่อง หมายถึง หัตถศึกษา |
|
เข็มประจำโรงเรียน ตราประจำพระองค์ของสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก ซึ่งประทานอนุญาต ให้โรงเรียนสุราษฎร์ธานี ๒ จัดทำเป็นสัญลักษณ์ และเป็นเข็มติดหน้าอกเสื้อของนักเรียน |
|
สีประจำโรงเรียน
|
|
พระพุทธรูปประจำโรงเรียน “พระพุทธบารมีสุราษฎร์ธานีพิพัฒน์” เป็นนามที่สมเด็จพระสังฆราช ประทานให้มี ความหมายว่า พระซึ่งนำความเจริญก้าวหน้ามาสู่โรงเรียนสุราษฎร์ธานี ๒ |
|
ดอกไม้ประจำโรงเรียน ดอกกัลปพฤกษ์ |
|
ต้นไม้ประจำโรงเรียน ต้นกัลปพฤกษ์ |
ติดต่อโรงเรียน
ที่อยู่ : 164 หมู่ 5 ตำบลมะขามเตี้ย อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี 84000
โทรศัพท์ : 077-355-351 ถึง 2
โทรสาร : 077-355-354
E-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.
Website : http:://www.st2.ac.th
Facebook : www.facebook.com/suratthani2
Youtube : www.youtube.com/@suratthani2school
แผนที่โรงเรียน
Q&A ถาม-ตอบ
คติพจน์ประจำโรงเรียน
นิมิตฺตํ สาธุรูปานํกตญฺญู กตเวทิตา
ความกตัญญู กตเวที เป็นเครื่องหมายของคนดี
ปรัชญาของโรงเรียน
คิดเป็นธรรม ทำเป็นธรรม แก้ปัญหาเป็นธรรม
วิสัยทัศน์
ภายในปีการศึกษา ๒๕๖๑ โรงเรียนสุราษฎร์ธานี ๒ เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ตาม
มาตรฐานสากล เชิดชูคุณธรรม ก้าวทันเทคโนโลยี ภายใต้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
อัตลักษณ์
" มีจิตอาสา แก้ปัญหาเป็นระบบ "
เอกลักษณ์
" บรรยากาศดี มีคุณธรรม นำสู่ความพอเพียง"
ค่านิยมองค์กร
" ร่วมคิด ร่วมทำ มุ่งมั่นพัฒนา ยึดนักเรียน และสถานศึกษเป็นสำคัญ "
พันธกิจ
๑. ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความรู้และทักษะที่จำเป็นตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ และหลักสูตรที่
เทียบเคียงมาตรฐานสากล
๒. ส่งเสริมให้ผู้เรียน มีนิสัย ใฝ่เรียนรู้ สามารถเรียนรู้ด้วยตนเองและแสวงหาความรู้อย่างต่อเนื่อง มีความสามารถในการสื่อสาร
สามารถคิด วิเคราะห์ แก้ปัญหา คิดริเริ่ม สร้างสรรค์ และกล้าตัดสินใจ
๓. ส่งเสริมและพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณธรรม จริยธรรม และคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ๙ ประการ และค่านิยม ๑๒ ประการ ดังนี้
๑.) รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์
๒.) ซื่อสัตย์ สุจริต
๓.) มีวินัย
๔.) ใฝ่เรียนรู้
๕.) อยู่อย่างพอเพียง
๖.) มุ่งมั่นในการทำงาน
๗.) รักความเป็นไทย
๘.) มีจิตสาธารณะ
๙.) ความกตัญญูกตเวที
๔. พัฒนาคุณภาพของการบริหารจัดการเน้นการมีส่วนร่วม
๕. พัฒนาสถานศึกษาให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้
๖. เสริมสร้างภาคีเครือข่ายร่วมพัฒนาการจัดการศึกษา
๗. ส่งเสริมการสร้างอัตลักษณ์ของสถานศึกษา
๘. พัฒนาคุณภาพสถานศึกษาตามแนวทางการศึกษาในศตวรรษที่ ๒๑
เป้าประสงค์
๑. ผู้เรียนมีความรู้และทักษะที่จำเป็นตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ และหลักสูตรที่เทียบเคียง
มาตรฐานสากล
๒. ผู้เรียน มีนิสัย ใฝ่เรียนรู้ สามารถเรียนรู้ด้วยตนเองและแสวงหาความรู้อย่างต่อเนื่อง มีความสามารถในการสื่อสาร สามารถคิด
วิเคราะห์ แก้ปัญหา คิดริเริ่ม สร้างสรรค์ และกล้าตัดสินใจ
๓. ผู้เรียนให้มีคุณธรรม จริยธรรม และคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ๙ ประการ และค่านิยม ๑๒ ประการ
๔. ผู้เรียนเป็นผู้ที่มีคุณภาพชีวิตที่ดีบนพื้นฐานของความเป็นไทยตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
๕. ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม
๖. พัฒนาหลักสูตรเทียบเคียงมาตรฐานสากล
๗. พัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาสู่มาตรฐาน
๘. พัฒนาระบบการบริหารจัดการที่ทำให้เกิดการพัฒนาทั้งองค์กร โดยใช้วงจรคุณภาพ (PDCA) บนพื้นฐานของหลักธรรมาภิบาล
๙. ส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพและการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษา
๑๐. ส่งเสริมสนับสนุนให้จัดการเรียนการสอนผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์
๑๑. ส่งเสริมให้นักเรียนเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้
๑๒. สร้างเครือข่ายร่วมพัฒนา และ แลกเปลี่ยนประสบการณ์ ในระดับท้องถิ่น ระดับภูมิภาค ระดับประเทศ และระดับอาเซียน
๑๓. ผู้เรียนใส่ใจการเรียนรู้ เป็นคนดี มีความสุข มีทักษะในการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
๑๔. โรงเรียนมีอาคารสถานที่ที่มีความร่มรื่น สวยงาม น่าอยู่น่าเรียน มีความปลอดภัย เอื้อต่อการจัดกิจกรรมการเรียน
การสอน เป็นแหล่งเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
๑๕. โรงเรียนบริหารจัดการได้คุณภาพระดับมาตรฐานสากล
๑๖. โรงเรียนจัดโครงการ กิจกรรมเพื่อตอบสนองนโยบาย จุดเน้น ตามแนวทางการศึกษาในศตวรรษที่ ๒๑ มีความพร้อมสู่การเป็นโรงเรียน
สำหรับประชาคมอาเซียน และพัฒนาสู่การเป็นพลโลก
กลยุทธ์โรงเรียนสุราษฎร์ธานี ๒
กลยุทธ์ที่ ๑ พัฒนาคุณภาพนักเรียน
กลยุทธ์ที่ ๒ พัฒนาระบบการบริหารจัดการ
กลยุทธ์ที่ ๓ สร้างเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้
กลยุทธ์ที่ ๔ ส่งเสริมอัตลักษณ์ของสถานศึกษาให้โดดเด่น
กลยุทธ์ที่ ๕ ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา